วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สมรรถภาพทางร่างกาย


 หน่วยการเรียนรูู้ที่ 8

สมรรถภาพทางร่างกาย

สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความสำคัญของการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย 
สมรรถภาพทางกายมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของบุคคล ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายดี จะสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยความกระฉัับกระเฉง การมีสมรรถภาพทางกายที่ดี มีความสำคัญดังนี
  1. ทำให้สุขภาพทางร่างกายแข็งแรง
  2. การทำงานของอวัยวะต่างๆ มีการประสานกันดีขึ้น
  3. ทำให้บุคลิกลักษณะดี มีความสง่า ทรวดทรงดีและสัดส่วนของร่างกายดีขึ้น
  4. ป้องกันการเกิดฌรคต่างๆ ที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน
ประเภทของสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะ
  1. สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภภาพ หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการที่จะทำให้บุคคลมีสุขภาพดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอันเนื่องมาจากการขาดการออกกำลังกาย
  2. สมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะ หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่ช่วยให้บุคคลสามารประกอบกิจกรรมทางกายได้ดี
วิธีทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
การทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ มีความสำคัญและมีความจำเป็นกับทุกคนเพราะจะแสดงให้เห็นว่าความสามารถของร่างกายบุคคลนั้นอยู่ในระดับใด เพียงพอที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆได้ดีหรือไม่
  1. การทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ มีความจำเป็นต่อมนุษย์ในการดำรงชีวิตประจำวัน 
  2. การทดสอบความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ เป็นองประกอบที่อยู่ในสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ และสมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะ ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ
  3. การทดสอบความอ่่อนตัว เป็นการวัดความสามารของกล้ามเนื้อและข้อต่างๆของร่างกายที่เคลื่อนไหว
  4. การวัดส่วนประกอบของร่างกาย เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูุง สัดส่วนระหว่างเอวกับสะโพกว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
วิธีการสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ
การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก การมีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะส่งผลให้มีสุขภาพดี ปราศจาากโรคภัยไข้เจ็บ วิธีการสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายสามารถทำได้ดังนี้ 
1. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมิ สามารถป้องกันโรคภัยต่างๆ และลดอาการเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการไมออกกำลังกาย การออกกำลังกายถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพมากเพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใหกับร่างกาย ดังนั้นนักเรียนควรมีคามรู้ความเข้าใจหลักในการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ดังต่อไปนี้ 
1.1การเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย กาออกกำลังกายโดยทั่วไปนั้น ถ้าหากว่าร่างกาปกติไม่มีอาการเจ็บป่วย สามารถที่จเริ่มต้นออกกำลังกายได้ทัยที แต่ในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย หรือ มีโรคประจำตัว ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ก่อนที่จะออกกำลังกาย 
1.2ปฏิบัติตามหลักการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ควรจะปฏิบัติตามหลักของการออกกำลังกาย ดังนี้
      1.2.1 การอบอุ่นร่างกาย เป็นการเตรียมพร้อมให้กับร่างกายก่อนที่จะมีการประกอบกิจกรรม

      1.2.2 วิธีการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ถูกวิธีและถูกขั้นตอน จะช่วยทำให้สมรรถภาพทางกายดีขึ้น
      การคำนวณหาอัตราการเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมาย
      อัคราการเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมาย คือ สิ่งที่แสดงให้ทราบว่า เราได้ออกกำลังกายให้มีความหนักได้ตรงตามกำหนดหรือไม่ โดยมีวิธีการคำนวณตามขั้นตอนดังนี้ 
      ขั้น 1 หาอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด 220-อายุ (ปี) = จำนวนครั้ง/นาที(100%)
      ขั้น 2 หาช่วงความหนัก/ความเหนื่อยที่เป็นเป้าหมาย
      • ช่วงเผาผลาญไขมัน (Target heart rate = THR) คือ 55-60% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
      • ช่วงเพิ่มสมรรถภาพหัวใจ (Aerobic Training Zone) คือ 65-85% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
      2. การผักผ่อน
      การพักผ่อนมีความสำคัญมากต่อการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย การพักผ่อนหมายถึงการนอนหลับและกิจกรรมเสริมอื่นๆ ที่ทำแล้วช่วยขจัดความเหน็ดหนื่อย อ่อนเพลีย เครียดทัั้งด้านร่างกายและจิตใจ การพักผ่อนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ิอคนทุกเพศทุกวัย
      ประโยชน์ของการพักผ่อน 
      1. ทำให้เกิดการผ่อนคลายต่อร่างกายและจิตใจ
      2. ร่างกายได้พักผ่อนและสะสมพลังงาน
      3. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
      4. ความดันเลือดลดลง
      5. ช่วยบริหารจิต ทำให้จิตใจสงบ 
      3. การกินอาหาร
      การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ สามารถทำได้ง่ายมาก ด้วยการกินอาหารครบ 5 หมู่เพื่อให้สารอาหารครบถ้วน คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่และวิตามิน  
      4. กิจกรรมนันทนาการ
      นันทนาการ หมายถึง การทำให้ชีวิตสดชื่น โดยการเสริมสร้างพลังงานขึ้นใหม่ หลังจากที่ร่างกายใช้พลังงานแล้วเกิดเป็นความเหนื่อยเมื่อยล้าทางร่างกาย จิตใจและทางสมอง เมื่อบุคคลเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการจะช่วยขจัด หรือผ่อนคลายความเหนื่อยเมื่อยล้าทางด้านร่างกายและจิตใจ ในความหมายนี้ นันทนาการจึงเป็นการตอบสนองความต้องการทางกายและจิตใจของบุคคลไได้อย่างแท้จริง

      ไม่มีความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น