วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การปฐมพยาบาล


หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

การปฐมพยาบาล

ความหมายของการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล  คือ การช่วยเหลือเบื้อต้นโดยรีบด่วนแก่ผู้ได้รบบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยอย่างกระทันหัน เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและทำให้ได้รับอันตรายน้อยที่สุด
ความสำคัญของการปฐมพยาบาล
  1. การปฐมพยาบาลเป็นการช่วยรักษาชีวิตของผู้บาดเจ็บและผู้ป่วย
  2. การปฐมพยาบาลช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บาดเจ้บและผู้ป่วยมีสภาพหนักกว่าเดิม ช่วยป้องกันอันตรายจากการเจ็บป่วย
  3. การปฐมพยาบาล เป็นการทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน
  • หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล
  1. ในสถานที่ที่มีผู้ได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยให้ผู้ปฐมพยาบาลสังเกตสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ไม่ควรให้คนมุงแน่นและไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ปาดเจ็บ ยกเว้นกณีฉุกเฉิน
  2. ประเมินสภาพแวดล้อมรอบๆ ที่เกิดเหตุว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเข้าไปให้ช่วยเหลือ เพราะบางเหตุการณ์ผู้ช่วยเหลืออาจได้รับอันตรายได้
  3. หากประเมินว่าไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้ตามลำพัง ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  4. จัดท่าให้ผู้บาดเจ็บนอนพักนิ่งๆในท่าที่สบายหรือท่าที่เหมาะสมแก่การปฐมพยาบาล
  5. ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บว่าได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเร่งด่วนหรือไม่
  6. ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บต้องกำหนดให้ถูกต้องว่าจะยก เคลื่อนย้าย เพื่อส่งต่อในลักษณะใด
  7. อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อให้การปฐมพยาบาลแล้ว รีบนำส่งไปรับการรักษาทันที
สถานการณ์ที่ต้องให้การปฐมพยาบาล 
  1. หมดสติ เปนการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
  2.  เลือดออก การบาดเจ็บมักมีบาดแผลเลือดออก ซึ่งเลือดจะออกมาภายนอกหรือภายในก็ได้
  3. กระดูกหัก ต้องปฐมพยาบาลโดยการเข้าเฝือกชั่วคราว เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
  • วิธีการปฐมพยาบาลคนเป็นลม
การเป็นลม (fainting) เป็นอาการเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอชั่วคราว
สาเหตุ
  1. ร่างกายอ่อนเพลีย
  2. ขาดอาการบริสุทธิ์
  3. เกิดจากอารมร์ 
  4. มีบาดแผลเสียเลือดมาก
อาการ
  1. อาการที่ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยบอก เช่น วิงเวียนศีรษะ มือเย้น ตาพร่า
  2. อาการที่สังเกตุได้ เช่น หน้าซีด ปากซีด ตัวเย็น 
การปฐมพยาบาลคนเป็นลม
กรณีที่มีการหายใจปกติ ให้การปฐมพยาบาลดังนี้

  1. ห้ามมุงดู พาเข้าที่ร่ม ให้อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  2. ให้นอนราบ ไม่หนุนหมอน หรือนอนศีรษะต่ำ ยกเท้าสูง
  3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  4. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้าผาก มือ และเท้า
กรณีที่มีการหายใจผิดปกติ
  1. นอนหงายบนพื้นราบ
  2. คลายเสื้อผ้าออกให้หลวม
  3. ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง
  4. ถ้าหยุดหายใจ รีบบอกผู้ใหญ่ให้ช่วยการหายใจทันทีิ   รีบนำส่งโรงพยาบาลหรือโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล 
  • วิธีการปฐมพยาบาลบาดแผล
บาดแผล หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังกรือเนื้อเยื่อที่อยู่ภายใต้ผิวหนังด้วยสาเหตุใดก็ตาม บาดแผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
  • แผลปิด เป็นแผลที่ไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ แต่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่ออยู่ใต้ผิวหนัง 
การปฐมพยาบาล
ให้ประคบเย็นในช่วง 24 ชั่วโมง เพื่อให้หลอดเลือดบริเวณนั้นหดตัว จะได้ไม่มีเลือดออกมาอีก แล้วพันผ้าให้แน่นพอสมควร ห้ามนวดเพราะจะทำให้หลอดเลือดฉีกขาด หลัง 24 ชั่วโมง ให้ประคบร้อนเพื่อให้หลอดเลือดขยายตัว
  • แผลเปิด เป็นแผลที่ผิวหนังฉีกขาดมีเลือดออก
การปฐมพยาบาล
  1. แผลถลอกให้ล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ
  2. แผลฉีกขาด ให้ปิดแผลด้วยผ้าสะอาดและกดแผลให้แน่นเพื่อห้ามเลือด จากนั้นส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการเบ็บแผล
  3. แผลถูกแทง ให้ปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  4. แผลถูกของแหลมทิ่มตำ เมื่อถูกของแหลมทิ่มตำผ่านผิวหนัง ให้ดึงออกปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาด และนำส่งโรงพยาบ แต่ถ้าของแหลมหัก คา ค้าง ไม่สามารถดึงออกให้ปิดบาดแผลและส่งโรงพยาบาล
  5. แผลถูกไฟไฟม้ น้ำร้อนลวกหรือวัตถุระเบิด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งปิดแผลช่วยลดอาการปวด อย่าเจาะผิวหนังที่พองให้แตกออกเพราะจะยิ่งปวดแสบปวดร้อน
  • บาดแผลถูกแมลงต่อย
อาการไม่รุนแรง จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนแมลงที่ต่อยและจำนวนครั้งที่ถูกต่อย บริเวณที่ถูกต่อย ภูมิแพ้ คนที่แพ้จะมีอาการรุนแรงเมื่อถูกต่อย จะมีอาการปวด บวม ถ้าถูกต่อยมากและแพ้ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก 
การปฐมพยาบาล
  1. รีบเอาเหล็กในออก โดยใช้สก๊อตเทปปิดทาบบริเวณที่ถูกต่อยแล้วดึงออก เหล็กในจะตามออกมาด้วย
  2. ประคบด้วยความเย็น เพื่อระงับความเจ็บปวด ถ้าปวดมากให้กินยาแก้ปวด
  3. พิษของสัตว์พวกนี้มีฤทธิ์เป็นกรด ต้องใช้น้ำยาที่เป็นด่างอย่างอ่อนชุบสำลี
  4. ถ้ามีอาการมากรีบปรึกษาแพทย์ 
  • บาดแผลไฟไฟม้ น้ำร้อนลวก
ไฟไหม้ (Burns) หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ เนื่องจากถูกความร้อนแห้ง  
น้ำร้อนลวก (scalds) หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังเนื้อเยื่อ เนื่องจากถูกความร้อนชนิดเปียก 
การปฐมพยาบาล
  1. ถ้าเป็นแผลขนาดเล็กมีอาการปวดแสบปวดร้อน วิธีลดความปวดแสบปวดร้อนคือใช้ความเย็น อาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นวงตรงบริเวณที่ถูกไฟไฟม้ จะช่วยลดความเจ็บปวด
  2. ถ้าบาดแผลลึก บริเวณแผลไม่กว้า การปฏิบัติคือ ป้องกันการอักเสบติดเชื้อ ถ้าบาดแผลพองอาจปล่อยไว้เฉยๆ เพียงแต่รักษาความสะอาดภายนอก
  3. ถ้าบาดแผลไฟไหม้บริเวณข้อพับ แขนหรือขา ควรใส่เฝือกชั่วคราว เพื่อป้องกันการหดรั้งของแผล
  4. ถ้ามีช็อกรีบรักษาไว้ก่อน
  • บาดแผลถูกสารเคมี
บาดแผลถูกน้ำกรดหรือน้ำด่างจะมีลักษณะไหม้ และมีอาการเจ็บปวดคล้ายๆกัน อันตรายที่เกิดขึ้นคือ แผลไหม้จากสารเคมีอาจกินลึกกว่าและการหายของบาดแผลช้ากว่า 
บาดแผลถูกกรด
บาดแผลถูกกรด เช่น กรดกำมะถัน กรดเกลือ
การปฐมพยาบาล
  1. ควรล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆ เป็นเวลานาน ถ้าเป็นน้ำอุ่นได้ยิ่งดีล้างให้แน่ใจว่าสารเคมีออกหมด
  2. รีบนำส่งแพทย์
บาดแผลถูกด่าง เช่น โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ ปูนขาว โซดาไฟ
การปฐมพยาบาล 
  1. ควรล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากไเป็นเวลานานๆ
  2. รีบนำส่งแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น